วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552
คลองชลประทาน,ทางเลือกของการแก้ปัญหาภัยแล้ง
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1727
Moral : ในอดีตเมื่อเข้าหน้าแล้งเกษตรกรที่ทำการเกษตรกรรมจะได้รับผลกระทบอย่างมาก ส่งผลให้พืชผลเสียหายได้รับความเดือดร้อนเป็นมูลค่ามหาศาล ทางกระืทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้วางแผนโครงการขุดคลองชลประทานขึ้นในบริเวณที่เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ ซึ่งผลที่ได้นั้นคุ้มค่าต่อการลงทุนมาก เพราะว่าผลผลิตที่ได้นั้นมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และในบริเวณที่คลองชลประทานผ่านไปนั้นยังทำให้คนมีอาชีพเสริมคือ การจับปลา
ยานโคลัมเบีย,ยานขนส่งอวกาศ Recycle
http://thaiastro.nectec.or.th/news/2003/special/columbia.html
Moral : ในอดีตการขนส่งทางอวกาศใช้งบประมาณในการเดินทางแต่ละครั้งที่สูง ทางองค์การนา่ซ่าจึงได้คิดขึ้นหาวิธีในการหาทางลดต้นทุนค่าใช้จ่ายให้ต่ำลง โดยวิศกรออกแบบทางการบินได้คิดค้นยานขนส่งทางอวกาศที่มีชื่อว่า ยานโคลัมเบีย ขึ้นเพื่อใช้ในการขนส่งนักบินอวกาศไปยังสถานีอวกาศนานาิชาติ ซึ่งนายโคลัมเบียนี้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หลายครั้ง เพียงแค่ซ่อมแซมจุดที่เสียหายเพียงบางจุดเท่านั้น
ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้ยานโคลัมเบียกลายเป็นยานขนส่งอวกาศที่พร้อมทั้งคุณภาพและความประหยัด
วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552
ไมโครเบิส,อดีตเพชรฆาตเงียบของการบิน
http://www.thaienv.com/th/index.php?option=com_content&task=view&id=39&Itemid=27
Moral : ในอดีตไมโครเบิสได้ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมทางเครื่องบินอย่างมาก ซึ่งทุกครั้งมีผู้เสียชีวิตครั้งละไม่ต่ำกว่า 100 คน ปรากฏการณ์ไมโครเบิสเกิดจากสภาพอากาศที่มีการผันเปลี่ยนอย่างรวดเร็วจนก่อเกิดเป็นพายุลูกใหญ่ โดยมีทิศทางลมจากฟ้าสู่พื้น ซึ่งถ้าหากเครื่องบินบินผ่านบริเวณนี้ก็จะก่อให้เกิดแรงกดมหาศาลและทำให้เครื่องบินตกลงสู่พื้นในที่สุด เมื่อเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นหลายครั้ง จึงทำให้ผู้วิจัยคิดค้นเครื่องตรวจจับไมโครเบิสขึ้น ซึ่งในท้านที่สุดประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยนักวิจัยสามารถคิดค้น ดอปเลอร์เรดาห์ สำหรับการตรวจจับบนภาคพื้นได้สำเร็จและนำมาประยุกต์ใช้ติดในเครื่องบิน เพื่อเป็นการเตือนล่วงหน้า ปัจจุบันสาเหตเครื่องบินตกจากปรากฏการณ์ไมโครเบิสได้หมดไปแล้ว
จรเข้ในเขาใหญ่,มีอยู่เดิมหรือถูกปล่อย
http://www.thairath.co.th/content/edu/30870
Moral : เมื่อสองสามวันที่ผ่านมาข่าวทางโทรทัศน์ได้ประกาศว่า มีผู้พบเห็นจรเข้บนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ บริเวณน้ำตกผากล้วยไม้และธารลำตะคอง จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ตื่นเต้นกับการพบครั้งนี้มาก เนื่องจากไม่มีใครเคยพบเห็นจรเข้ในบริเวณนี้มาก่อน ทางด้านสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า จรเข้นี้ไม่ได้มีอยู่มาก่้อน แต่เพราะคนได้นำมาปล่อยซึ่งถ้าหากเป็นจริงก็จะเป็นผลเสียอย่างมาก เนื่องจากจรเข้จะไปทำลายความสมดุลของระบบนิเวศให้เสียหาย แต่ถ้าการคาดเดาครั้งนี้ผิด ก็จะบ่งชี้ว่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตมากซึ่งเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง
วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ฝนเทียม,ฝนเพื่อการเกษตรของไทย
http://blog.eduzones.com/jade/3512
Moral : ในอดีตประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูร้อนเป็นอย่างมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเกษตรกรรมอย่างมหาศาล ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้คิดค้นหาวิธีเพื่อที่จะแก้ไขปัญหา โดยการทำฝนเทียมในบริเวณที่ได้รับความเดือดร้อน ผลที่ตามมาคือ บริเวณที่แห้งแล้งสามารถมีน้ำเก็กกับไว้ใช้ในฤดูร้อน พอที่จะใช้ในการเพาะปลูกพืชพันธุ์ต่างๆ
วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ไฟฟ้าพลังงานลม,พลังงานสีเขียวที่ควรสนใจ
http://thaiwindfarm.com/
Moral : เมื่อเร็วๆนี้ได้มีการทดลองเกี่ยวกับกังหันลมเพื่อนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ตามครัวเรือนบริเวณชายฝั่งทะเลในภาคใต้ของประเทศไทย ผลเป็นที่น่ายินดียิ่งนักเพราะว่า กังหันลมสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตามเกณฑ์ที่คาดคะเนไว้ในทีแรก ดังนั้นจึงเป็นผลให้รัฐบาลเสนอโครงการกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าให้เอกชนเข้ามาประมูลและดำเนินการก่อสร้าง ในอนาคตคาดว่ากังหันลมนี้จะช่วยลดสภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง
วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ปะการังเทียม,ซากวัตถุเพื่อสิ่งแวดล้อม
http://www.coastalaqua.com/webboard/index.php?topic=1579.0
Moral : เมื่อครั้งเกิดสึนามิเมื่อพ.ศ.2549 บริเวณเกาะสุมาตรา ทำให้บริเวณชายฝั่งอันดามันของประเทศไทยได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เช่น ปะการังถูกทำลายเป็นจำนวนมหาศาล ส่งผลให้สัตว์น้ำที่อยู่บริเวณนั้นได้รับความเดือดร้อนไปด้วย แต่เมื่อมีพระราชเสาวณีย์ของพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถในการที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยการสร้างปะการังเทียมขึ้นมาใหม่ โดยใช้ยานพาหนะที่ไม่ได้ใช้แล้วมาทิ้งไว้กลางทะเล เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ จนในปัจจุบันปะการังเทียมนี้มีส่วนช่วยให้จำนวนปะการังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)